วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

มะยมเชื่อม




ส่วนผสม
1.มะยม 1 กิโลกรัม
2.นํ้าตาลทราย 4 - 5 ถ้วย
3.นํ้าปูนใส 8 ถ้วย
4.เกลือป่น 1/2 ถ้วย
5.นํ้า 7 ถ้วย
วิธีทํา
1. ล้างมะยมให้สะอาด ใส่นํ้า 4 ถ้วยและเกลือลงในหม้อ ตั้งไฟ พอเกลือละลายยกลง
ดองมะยมด้วยนํ้าเกลือ ได้ที่แล้วยกขึ้นล้าง แช่ในนํ้าสะอาดสักครู่ นํามะยมมาคลึงเบา ๆ
2. ใส่นํ้าตาลและนํ้าที่เหลือลงในกระทะทอง เคี่ยวนํ้าตาลให้ค่อนข้างข้น ยกลง นํามะยม
ลงแช่ 2 วันแล้วนําขึ้น ค้อยอุ่นนํ้าตาล แล้วแช้อีก ได้ที่แล้วนําไปตาก
3. นํานํ้าเชื่อมที่แช่มะยมที่เหลือเคี่ยวให้ข้น แล้วนํามะยมขึ้นเชื่อมอีกครั้ง สีจะสวยน่ารับ
ประทาน แต่ค่อนข้างนุ่มไม่กรอบ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พุทราเชื่อม



ส่วนผสม
1.พุทราแห้ง 300 กรัม
2.น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
3.น้ำ 1 1/2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1.ล้างพุทราเสียครั้งหนึ่งก่อน จึงแช่น้ำไว้ จนพุทราดูดน้ำเนื้อ พุทราพองตัวขึ้น พอที่จะคว้านเม็ดออกได้สะดวก จึงคว้าน เมล็ดออกทิ้งไป ส่วนเนื้อพุทราที่คว้านแล้ว ให้แช่น้ำอีก ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอผิวเริ่มตึงก็ช้อนขึ้นใส่ กระชอนให้สะเด็ดน้ำ การแช่น้ำนานเกินไปทำให้เนื้อ พุทราแฉะ กินไม่อร่อย
2.เชื่อมน้ำตาลกับน้ำให้เป็นน้ำเชื่อม ถ้าน้ำตาลมีเศษผง ควร กรองด้วยผ้าขาวบางเสียก่อน เทน้ำเชื่อมลงต้มต่อไป ประมาณ 5-6 นาที จึงใส่พุทราที่สะเด็ดน้ำแล้วลงไป หมั่น คนให้พุทราแช่ในน้ำเชื่อมอย่างทั่วถึง
3.
หรี่ไฟให้อ่อนลง เชื่อมไปจนพุทราดูดน้ำเชื่อมจนอิ่มตัวดี ผิวพุทราจะตึงและเนื้อเหนียว จึงช้อนพุทราใส่โหลแก้ว พักให้เย็นสนิทจึงอบด้วยดอกมะลิค้างคืนไว้

มะม่วงกวน

มะม่วงกวน
ส่วนผสม
1.เนื้อมะพร้าวสุกงอม 6 ถ้วย
2.น้ำตาลปี๊บ 500 กรัม
3.เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. หั่นเนื้อมะม่วงเป็นชิ้นบางๆหรือสับหยาบก็ได้
2. ผสมเนื้อมะม่วง น้ำตาลปี๊บ และเกลือป่น กวนจนเข้ากันได้ดี
3. กระทะทองตั้งไฟ ใส่ส่วนผสมของมะม่วงลงในกระทะทองกวนไปเรื่องๆจนเหนียวได้ที่
4. ตั้งมะม่วงกวนละเลงบนใบตองที่เช็ดสะอาดแล้วให้เป็นแผ่นบางๆ (หรือละเลงลงบนภาชนะอื่นก็ได้)
5. นำมะม่วงที่ละเลงแล้วตากแดดและคอยกลับมะม่วงจะได้แห้งเสมอกันทั้งสองด้าน พอมะม่วงแห้งแล้วเก็บลงในภาชะที่ปิดสนิท
6. หรือจะนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ให้สวยงามโดยการตัดมะม่วงให้เป็นแผ่นยาวแล้วพับเป็นกลีบดอกไม้


ทุเรียนกวน

ทุเรียนกวน
เครื่องปรุง
1.เนื้อทุเรียนสุก 1/2 กิโลกรัม
2.น้ำตาลทราย 8 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ใส่ทุเรียนและน้ำตาลทรายลงในกะทะ ยกขึ้นตั้งไฟ กวนด้วยไฟ กลาง-อ่อน จนส่วนผสมเหนียว
2. บรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดสนิท
ลักษณะของทุเรียนกวน
1. เนื้อเนียน แน่น เหนียว สีเหลือง-น้ำตาลอ่อน รสหวานมัน
2. รับประทานได้ 2-3 คน
3. ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส กำมะถัน วิตะมินเอ
4. สีของทุเรียนกวนขึ้นอยู่กับพันธ์ของทุเรียนที่นำมากวน และไฟที่ใช้กวนด้วย ถ้าเป็นทุเรียนพันธ์หมอนทอง สีจะออกเหลืองมากกว่า และปริมาณน้ำตาลทรายที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับความหวานของทุเรียนที่นำมากวน

กล้วยฉาบ




ส่วนผสม
1.กล้วยหักมุก 1 หวี (แบบดิบ)
2.น้ำมันสำหรับทอด 2 ถ้วยตวง
3.น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
4.น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ
5.เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1.ตั้งกระทะให้ร้อน เติมน้ำมันทั้งหมดลงในกระทะ พอให้ น้ำมันร้อน จึงปอกกล้วยแล้วฝาน เป็นแผ่นบาง ๆ ตาม ความยาวของผล ใส่ลงทอดในน้ำมันทันที หมั่นคนและ พลิกชิ้นกล้วยกลับให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอกัน จนกรอบ ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ทำให้หมดหวี
2.เทน้ำมันออกจากกระทำให้หมด ใส่น้ำตาล น้ำ และเกลือ ลงในกระทะนั้น ต้มจนน้ำตาลละลาย และเคี่ยวต่ออีกครู่ จนน้ำตาลเหนียวเป็นเส้น เมื่อใช้ปลายมีดจุ่มลงในน้ำเชื่อม แล้วยกมีดขึ้น น้ำเชื่อมจะยืดตามมีดเป็นเส้น
3.ใส่กล้วยที่ทอดไว้ ลงในกระทะน้ำเชื่อมทันทีที่ยกลงจากเตา เคล้าเบา ๆ ให้น้ำเชื่อมจับชิ้นกล้วยให้ทั่วถึง
พักไว้จนเย็นสนิทและน้ำเชื่อมแห้งสนิทด้วย จึงเก็บใส่ ภาชนะที่ปิดได้สนิท
ลองทำดูนะคะ (อาจจะใช้กล้วยดิบอื่นๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกล้วยหักมุก)

ไข่เค็ม

การทำไข่เค็ม
วัสดุอุปกรณ์
1. ไห หรือภาชนะบรรจุ
2. เกลือเม็ด 1 ถ้วยตวง
3. น้ำ 4 ถ้วยตวง
4. ไข่เป็ด 10 ฟอง
5. หม้อต้ม
6. เตาไฟ
7. ถุงพลาสติก
8. ยางรัด
9. ผ้าขาวบาง
10. สารส้ม
วิธีทำ
1. ตวงน้ำและเกลือตามอัตราส่วน ต้มให้เกลือละลายทำการกรองทิ้งไว้ให้เย็น
2. ล้างไข่เป็ดให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง วางเรียงในภาชนะบรรจุ
3. เทน้ำเกลือลงในภาชนะบรรจุ
4. นำถุงพลาสติกใส่น้ำเกลือมัดปากถุงให้แน่นนำมาวางกดทับไข่ (ไข่ต้องจมอยู่ในน้ำเกลือตลอดเวลา)
5. นำผ้าพลาสติกปิดปากไหมัดให้แน่นปกปิดมิดชิด เก็บไว้ประมาณ 21 วัน
6. เมื่อครบ 21 วันนำไข่ออกมาล้างให้สะอาดนำไปต้มใช้ไฟปานกลาง นานประมาณ 30 นาที (ในขั้นตอนนี้ให้ใส่สารส้มเล็กน้อยเพื่อให้สารส้มกัดสีผิวของเปลือกไข่ ให้ขาวนวลดู สะอาดสวยงาม น่าซื้อ น่ารับประทาน)
ไข่เค็มสูตรนี้เมื่อต้มเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน อย่างน้อย 25 วัน

มะม่วงแช่อิ่ม

มะม่วงแช่อิ่ม
วัตถุดิบ
1. มะม่วงแก้วดิบ 30 ผล
2. เกลือเม็ด 1-1/2 ถ้วย
3.น้ำตาลทราย 10 ถ้วย
วิธีทำ
1. ล้าง ปอกเปลือกมะม่วงด้วยมีดที่ไม่เป็นสนิม
2. ล้างอีกครั้งแล้วฝานตามยาวของลูกหนา ½ ซ.ม.
3. เตรียมน้ำเกลือ เกลือ 1 ½ ถ้วย น้ำ 12 ถ้วย ต้มให้เดือด 15 นาที ทิ้งให้เย็น
4. เตรียมขวดโหลขนาดใหญ่ 1 โหล (สะอาด) แล้วนำมะม่วงที่ฝานแล้ว บรรจุ กรองน้ำเกลือแช่ให้ท่วมเก็บไว้ 1 คืน
5. รุ่งขึ้นเอามะม่วงดองออกจากน้ำเกลือ เรียงผึ่งในตะแกรง ผึ่งแดดพอหมาด ๆ
6. เตรียมน้ำเชื่อมโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 นำชิ้นมะม่วงบรรจุขวดแช่น้ำเชื่อม 1 คืน
7. นำน้ำเชื่อมออกอุ่น และเติมน้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 1 ถ้วย ต้มเดือด 10 นาที แช่มะม่วงไว้
8. นำไปตากแดดโดยใส่ตะแกรง ตากพอแห้งอย่าให้แข็ง เก็บใส่ขวดปิดฝาให้แน่น รับประทานได้

การทำปลาเค็ม


ปลาเค็มแล่แดดเดียว
วัสดุอุปกรณ์
1. ปลาตาโต,ปลาลัง
2. เกลือ
3. มีด
4. กะละมัง
5. น้ำเปล่า
6. ตะกร้า
7. แผงตาข่ายสำหรับตาก
วิธีการทำ
1. นำปลาที่เตรียมไว้มาผ่าเอาไส้ออก ตัดหัวออกแล้วล้างให้สะอาด
2. ใช้มีดปลายแหลมแล่ปลาออกเป็นสองซีก โดยใช้มีดผ่าจากส่วนหางทางด้านล่างของลำตัวแล้วแล่ให้ชิดกับก้างปลามาจนถึงส่วนท้องจากนั้นใช้มีดแล่เอาก้างปลาออก
3. นำปลาที่แล่เสร็จแล้วมาหมักกับเกลือและซีอิ้วดำเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
4. นำปลาที่หมักแล้วไปวางบนแผงแล้วนำออกตากแดดเป็นเวลาประมาณ 4 ช.ม.หรือแดดเดียว เมื่อแห้งแล้วก็นำออกขายสำหรับชาวบ้านเพแล้วจะใช้วิธีกำขาย
ปลาอินทรีเค็ม
วัสดุอุปกรณ์
1. ปลาอินทรี (นิยมใช้ปลาขนาด 3 ก.ก.ขึ้นไป)
2. เกลือ
3. กะละมัง
4. มีด
5. เชือก
6. ถุงพลาสติก ขนาดพอที่จะใส่หัวปลาได้
7. กระดาษ
วิธีการทำ
1. นำปลาอินทรีมาผ่าเอาไส้ออก ล้างให้สะอาดนำขึ้นวางให้แห้งน้ำ ระวังอย่าให้มีแมลงตอม
2. นำไปหมักกับเกลือประมาณ 1 สัปดาห์
3. นำปลาขึ้นจากเกลือเอาเกลือออก แล้วใช้เชือกผูกที่หางจากนั้นนำไปแขวนตากแดด 2 วัน หรือพอแห้ง
4. เอาถุงพลาสติกที่เตรียมไว้มาสวมหัวแล้วห่อตัวปลาด้วยกระดาษ ก็สามารถนำออกขายได้
ปลาทูเค็ม
วัสดุอุปกรณ์
1. ปลาทู
2. เกลือ
3. กะละมัง
4. มีด
5. แผงตาข่าย
6. ตะกร้า
7. น้ำเปล่า
วิธีการทำ
1. นำปลาทูมาผ่าท้องเอาไส้ออกล้างให้สะอาด
2. นำปลาทูที่ล้างแล้วมาหมักเกลือผสมน้ำเป็นเวลา 1 คืน
3. นำปลาทูขึ้นวางบนแผงตาข่ายแล้วนำออกตากแดดเป็นเวลา 4-5 ชม. จนแห้ง จากนั้นก็สามารถส่งขายได้

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม
เมนูนี้ก็เป็นหนึ่งในเมนูชุดแปรรูปกล้วย เนื่องมาจากกล้วยมีจำนวนมากจึงต้องนำมาแปรรูป
ส่วนผสม
1. กล้วยน้ำหว้าจวนสุก 18 ลูก
2.น้ำตาลทราย 300 กรัม
3. น้ำสะอาด 1 ถ้วยตวง
4.นำปูนใส 3 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. ปอกกล้วยทั้งหมด หั่นเป็น 4 ท่อน แล้วนำไปแช่น้ำปูนใสจนผิวกล้วยตึงๆ ประมาณ 15 นาที
2. ผสมน้ำตาลกับน้ำ แล้วนำไปตั้งไฟให้เดือด

ฟักทองเชื่อม


ฟักทองเชื่อม
ส่วนผสม
1. ฟักทอง 1 กิโลกรัม
2. น้ำปูนใส 3 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
4. น้ำ 1 ½ ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. ล้างฟักทองให้สะอาด ปอกเปลือกบาง ๆ ไม่ต้องให้หมดเกลี้ยงฝานไส้ออก ตัดเป็นชิ้นตามยาว หนา 1 นิ้ว แช่น้ำปูนใสประมาณ 30 นาที
2. เอาฟักทองขึ้น ล้างน้ำก่อนจะเชื่อม 1 ครั้ง
3. ใส่น้ำ 1 ½ ถ้วยตวงในหม้อตั้งไฟพอร้อน ใส่น้ำตาลทรายลงคน พอละลายแล้วกรองใส่กระทะทองหรือหม้อสแตนเลส ตั้งไฟพอเดือดใส่ฟักทองลงเชื่อม (อย่าคนบ่อย) พลิกกลับชิ้นฟักทองบ้างนาน ๆ ครั้ง พอน้ำตาลเริ่มข้น ลดไฟลง เชื่อมจนชิ้นฟักทองใสตักขึ้น ใช้เสิร์ฟเป็นของหวาน
หมายเหตุ การเลือกซื้อฟักทองควรเลือกซื้อฟักทองเนื้อแน่น เหนียว เมื่อเชื่อม
แล้วจะได้ฟักทองเนื้อเหนียวไม่เปื่อย ยุ่ย

การถนอมอาหาร

วิธีการถนอมอาหาร
วิธีการถนอมอาหารในบางฤดูกาลมีผล ผลิตประเภทอาหารมากมาย ทำให้ไม่ สามารถรับ ประทานอาหารสดๆได้ หมด แต่เราสามารถเก็บรักษาอาหาร นั้นไว้รับประทานต่อไปได้ด้วยวิธี การถนอมอาหาร ซึ่งการเลือกวิธีการ ถนอมอาหารที่เหมาะสมจะทำให้ สามารถเก็บรักษาอาหาร ไว้ได้นาน และสามารถรับประทานได้ตลอดฤดู กาล โดยที่อาหารไม่บูดเน่าเสียหรือ ต้องทิ้งโดย เปล่าประโยชน์ การถนอมอาหารด้วยวิธีการต่างๆ
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
การ ถนอมอาหารโดยการดอง
การถนอม อาหารโดยการใช้น้ำตาล
การถนอมอาหาร โดยการแช่แข็ง
การถนอมอาหารโดยใช้สาร ปรุงแต่งอาหาร
การถนอมอาหารโดยรมควัน
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
การถนอม อาหารเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและ ผลไม้ โดยนำน้ำหรือความชื้นออกจาก อาหารให้มากที่สุดเพื่อให้เอนไซม์ใน อาหารไม่สามารถ ทำงานและบัตเตรี ไม่สามารถที่เจริญเติบโตได้ในของ แห้งสำหรับวิธีการตากแห้งอาจใช้ ความ ร้อนหรือความร้อนจากแหล่ง อื่น เช่น ตู้อบ เป็นต้นถ้าใช้แสงแดด ควรมีฝาชีหรือตู้ที่เป็นมุ้งลวด ป้อง กันแมลงและฝุ่นละออง อาหารที่ผ่านวิธีการตากเเห้งแล้ว เช่น เนื้อ เค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
การถนอมอาหารโดยการดอง
การดอง
การดองเป็นการ ถนอมอาหารโดยใช้สารปรุง แต่งให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน หรือมีรส ผสมทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน อุปกรณ์ที่ใช้ดอง ควรเป็นพวกเครื่องแก้ว ไม่ ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น หม้อ อะลูมีเนียม เป็นต้น เพราะในขณะดองอาจมีกรด เกิดขึ้นซึ่งกรดพวกนี้จะทำ ปฏิกิริยา กับโลหะทำให้เกิด สารพิษในอาหรสำหรับปรุง รสที่ใช้ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล น้ำส้มบริสุทธิ์ ส่วน อาหารที่ใ ช้วิธีดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง
เป็นต้น

การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาล
การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลนิยมใช้กับ พวกผลไม้ โดยทั่วไป แล้วผลไม้ที่มีรส เปรี้ยวจะนิยมใส่น้ำตาลมากการใช้น้ำ
ตาลเพื่อการถนอมอาหารมีหลายวิธี ดังนี้ การเชื่อม ใช้ความเข้มข้นของน้ำ ตาลแตกต่างกันตามอัตราส่วน ดังนี้
1.น้ำเชื่อมใส ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 3 ถ้วย

2.น้ำเชื่อมปานกลาง ใช่น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย
3.น้ำเชื่อมเข้มข้น ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 1ถ้วย การเชื่อม นิยมใช้กับผลไม้บรรรจุกระป๋อง หรือขวด ที่เรียกว่า ลอยแก้ว เช่น เงาะ กระป๋อง ลิ้นจี่ กระป๋อง เป็นต้น
การ ทำแยม เป็นการใส่น้ำตาลในเนื้อผลไม้ ที่มีน้ำปนอยู่ส่วนมาก แล้วกวนให้เข้า กัน เช่น แยมส้ม แยม สับปะรด เป็นต้น การกวน นิยมใช้กับผลไม้ โดยใส่น้ำ ตาลปริมาณมาก และกวนจนเนื้อผล ไม้แห้งสามารถปั้นหรือบรรจุห่อ ได้ เช่น ส้มโอกวน สับปะรดกวน กล้วย กวน เป็นต้น การแช่อิ่ม เป็นการใส่ น้ำตาลในปริมาณมาก โดยการแช่ ในน้ำเชื่อม และเพิ่มความเข้มข้น
ของน้ำเขื่อมจนถึง จุดอิ่มตัว แล้วนำ มาทำแห้ง สมัยก่อนนิยมใช้วิธีการ ถนอมอาหารนี้กับผลไม้ ปัจจุบันนำ ผักหลาย ชนิดมาแช่อิ่ม แล้วจัดจำ หน่ายจนเป็นที่นิยมในท้องตลาดเช่น ลูกตำลึง ก้านบอระเพ็ด ลูกมะกรูด เป็นต้น

การถนอมอาหารโดยการแช่ แข็ง
การถนอมอาหารโดยการแช่แข็ง เป็นการถนอมอาหาร โดยการใช้อุณหภูมิต่ำ โดย การควบ คุมจุลินทรีย์ และบัตเตรีไม่ให้สามารถ เจริญเติบโตได้ นิยมใช้กับอาหารสด อาหารที่ปรุง เสร็จแล้ว และบรรจุ ภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ซึ่งผู้บริโภคซื้แล้วสามารถนำไปอุ่นก่อนรับประ ทาน ในปัจจุบันนิยมแพร่หลายถึงแม้ ว่าจะมีราคาสูง เพราะช่วยประหยัด เวลาเเละเเรงงาน ในการ ประกอบอา หาร นอกจากนี้ อาหารแช่เเข็งจะสด และมีรสชาติดีกว่าอาหารกระป๋อง
การถนอมอาหารโดยใช้สารปรุงแต่ง
การใช้สารปรุงแต่งอาหารเป็น การถนอมอาหาร เพื่อหยุดยั้งการ เปลี่ยนแปลงการทำงานของ เอนไซม์หรือปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เก็บรักษา อาหารได้นานขึ้งหรือตกแต่งอาหาร สารปรุงแต่งที่นิยมใส่ในอาหาร มี ดังนี้

๑) สารกันบูด ถ้าใช้เพียงเล็ก น้อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าใช้มาก แม้แต่เกลือก็เป็นพิษต่อร่าง กาย ไม่ ควรใช้มากหรือบ่อยจนเกินไป ส่วน ปริมาณที่ใช้อย่างปลอดภัย ควรใช้ สารกันบูด ๑ กรัม ต่อน้ำหนักอาหาร ๑ กิโลกรัม
๒) สีผสมอาหาร ควรใช้สี จากธรรมชาติ หรือสารเคมีที่ได้รับอนุญาต ให้ใส่ในอาหาร ขององค์การ เภสัชกรรม
๓) สารเคมี ช่วยในการ ควบคุมความเป็นกรด ด่าง เกลือใน อาหาร ควบคุมคุณสมบัติทาง กาย ภาพของอาหาร ทำให้อาหารสด เช่น ทำให้ผลไม้สุกช้าหรือทำให้สุกเร็ว เช่น พวกแก๊สบ่ม ผลไม้ เป็นต้น ก่อน ใช้ควรศึกษาและดูคำแนะนำในซอง หรือฉลากที่ปิดไว้ข้างภาชนะบรรจุ
การรมควัน

การรมควันเป็นการถนอม อาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้ง ธรรมดา นอกจากจะทำให้ อาหาร แห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้ นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่ง เป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถ ทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติ โดยการสุมไฟด้วยไม้กาบ มะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหาร ไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รม ควันอาหาร ไปพร้อมกับไอร้อนจะ ช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รม ควันปลา เป็นต้น